ข้อมูลสภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก เป็นราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล เดิมเป็นสภาตำบลขี้เหล็ก จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
เนื้อที่
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 252 หมู่ที่ 2 บ้านขี้เหล็ก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทิศเหนือของอำเภอเมืองอุบลราชธานี ระยะห่างประมาณ 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 32 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 20,000 ไร่
อาณาเขต
- - ทิศเหนือ ติดต่อกับ พื้นที่ตำบลหนองไข่นกและตำบลยางสักกะโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- - ทิศใต้ ติดต่อกับ กับพื้นที่ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- - ทิศตะวันออก ติดต่อกับ พื้นที่ตำบลหัวเรือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- - ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
เขตการปกครอง
เขตพื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก มีหมู่บ้านในเขตปกครอง ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน เต็มส่วนทั้ง 11 หมู่บ้าน
ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก มีประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 6,418 คน แยกเป็นชาย 3,184 หญิง 3,234 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 1,849 หลังคาเรือน ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | หลังคาเรือน |
---|---|---|---|---|
1 | หนองแต้ | 252 | 271 | 148 |
2 | ขี้เหล็ก | 372 | 359 | 249 |
3 | สว่าง | 353 | 322 | 163 |
4 | หนองตอแก้ว | 376 | 362 | 241 |
5 | นาไหทอง | 316 | 343 | 179 |
6 | ทุ่งคำไผ่ | 427 | 438 | 253 |
7 | คำเจริญ | 250 | 243 | 161 |
8 | หนองเสือ | 323 | 347 | 173 |
9 | ทุ่งใหญ่ | 175 | 204 | 103 |
10 | หนองเซียงมอง | 139 | 132 | 67 |
11 | หนองแต้ | 201 | 213 | 112 |
ที่มา : ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองอุบลราชธานี ณ 31 พฤษภาคม 2557
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในท้องถิ่น
โบราณสถาน มีซากพระธาตุอยู่ในวัดขี้เหล็กใน หมู่ที่ 2 บ้านขี้เหล็ก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2380 ซึ่งลักษณะเป็นก้อนอิฐเผาโบราณ เรียกว่า พระธาตุแก้ว และมีความเชื่อว่าในวันเดือนเพ็ญจะมีลูกแก้วเสด็จ (มีลักษณะเป็นดวงแก้วสีเหลืองลอยออกมาแล้วไปที่ดอนปู่ตา ซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่)
โบราณวัตถุ มีการขุดพบไหโบราณที่บ้านนาไหทอง หมู่ที่ 5 โดยที่ชาวบ้านกำลังขุดดินเพื่อทำการเกษตรปลูกพืชโดยมี นายมี จอมหงษ์และนายผม สายสุพรรณ ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2480 ลักษณะเป็นไหโบราณปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านนาไหทอง
ศิลปวัตถุอื่น ๆ
- ภาพเขียนสีตามฝาผนังวัด ซึ่งเป็นการถ่ายทอดและบอกกล่าวเรื่องราวทางพระพุทธศาสานาและวรรณคดีอีสาน ต่าง ๆ
- อุปกรณ์ทอผ้า เช่น อิ้ว หลา กี่โบราณ ฟืม กระสวย
- เครื่องครัว เช่น กระโบม กระบวย
- อุปกรณ์สานแห เช่น ไน ป่าน จีม สานแห
- เกวียน ซึ่งเป็นพาหนะในการขน ย้าย และใช้ในการเดินทางโดยใช้วัวลาก กระเซอ สำหรับใส่ข้าวเปลือกได้จำนวนมาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้พื้นบ้านในการทำมาหากิน เช่น จอบ เสียม มีด พร้า ตะกร้า กระติบข้าว ไซหาปลา ลอบดักปลา เครื่องจักสานไม้ไผ่
ภาษาและวรรณกรรม ภาษาอีสาน
ศิลปกรรม การแสดงศิลปะกลองยาว การแสดงลำเซิ้งบุญบั้งไฟ